การเขียน Pump performance curve แบบต่อขนานและอนุกรม
นรินทร์ คันชิง, วีรวัฒน์ วงค์ชัย, ธรรมรัตน์ อุดทา และนพรัตน์ เกตุขาว

 Image result for youtube logo ท่านสามารถดูวีดิโอประกอบการสอนไปพร้อมกันที่นี่

         

           ปั๊มแต่ละตัวจะมีพฤติกรรมการทำงานไม่เหมือนกัน เส้นพฤติกรรมนี้เรียกว่า Pump performance curve หรือ H-Q curve ดังแสดงเป็นตัวอย่างในรูปที่ 1 ถ้าเราเอาปั๊มมาต่อกันทั้งแบบขนานและแบบอนุกรมเราจะต้องเขียน Pump performance curve ของชุดปั๊มที่ต่อกัน เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์การทำงานของปั๊มทั้งชุดพร้อมกัน วันนี้เราจะมาฝึกเขียน Pump performance curve สำหรับปั๊มที่ต่อกันทั้งแบบขนานและแบบอนุกรม

หลักการต่อปั๊ม
       ถ้าเรานำ Pump curve ของปั๊มที่จะต่อกันมาวาดลงบนกราฟ Q-H  curve แล้วพบว่า เส้น Pump curve มันเหลื่อมกัน ก็มีโอกาสที่ปั๊มทั้งสองตัวจะต่อกันได้ ไม่ว่าจะต่อแบบขนานหรืออนุกรม แต่จะทำงานได้หรือไม่ได้ขึ้นกับ System curve อีกที (ศึกษาเพิ่มเติมในหัวข้อต่อๆไป) โดยปั๊มที่ต่อกันแบบขนานนั้น เมื่อปั๊มทั้งหมดทำงาน ปั๊มแต่ละตัวจะมี Head เท่ากัน ส่วนอัตราการไหลจะเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ โดยอัตราการไหลรวมจะเท่ากับอัตราการไหลของปั๊มแต่ละตัวรวมกัน ส่วนการต่อแบบอนุกรมนั้น เมื่อปั๊มทั้งหมดทำงาน ปั๊มแต่ละตัวจะมีอัตราการไหลเท่ากัน โดย Head รวมของระบบจะเพิ่มขึ้นเท่ากับ Head ของปั๊มแต่ละตัวรวมกัน  รูปที่ 1 เป็นตัวอย่างของปั๊มรุ่น 125x100 FS2JCA โดยแกนนอนเป็นอัตราการไหลของปั๊ม ส่วนแกนตั้งเป็นความดันที่ปั๊มสร้างได้ (Total Head) โดยในกราฟจะมีเส้น Performance curve ของใบพัดแต่ละใบ ซึ่งจากรูปจะเห็นว่ามีใบพัด 4 ขนาดด้วยกัน นอกจากนี้ในกราฟยังแสดงค่าประสิทธิ์ภาพของปั๊มมาให้ด้วย

 หลักการวาด Performance Curve ของชุดปั๊มที่นำมาต่อกัน
   1) การต่อแบบขนาน
         การต่อแบบขนานจะต้องนำค่าอัตราการไหลที่ Head เท่ากันมาบวกกัน ตัวอย่างนี้เป็นการต่อกันของปั๊ม 2 ตัวที่มีขนาดใบพัดไม่เท่ากัน เริ่มต้นเราจะต้องอ่านค่าอัตราการไหลของปั๊มทั้ง 2 ตัวที่ Head เท่ากันแล้วจึงนำมารวมกันดังแสดงในตารางที่ 1

   ตารางที่ 1 การหาจุด Performance curve ของการต่อปั๊มแบบขนาน

   เมื่อเราได้ค่าอัตราการไหลรวมของปั๊มทั้ง 2 ตัวแล้วจึงนำมาเขียนเป็นเส้น curve ได้ดังแสดงในรูปที่ 2

    

    2) การต่อปั๊มแบบอนุกรม

โดยตัวอย่างนี้เป็นการต่อกันของปั๊ม 2 ตัวที่มีขนาดใบพัดไม่เท่ากัน เริ่มต้นเราจะต้องอ่านค่า Head ของปั๊มทั้ง 2 ตัวที่อัตราการไหลเท่ากันแล้วจึงนำมาบวกกันดังแสดงในตารางที่ 2

     ตารางที่ 2 การหาจุด Performance curve ของการต่อปั๊มแบบอนุกรม

เมื่อเราได้ค่า Head รวมแล้ว จึงนำมาเขียนเป็นเส้น Curve ได้ดังแสดงในรูปที่ 3

หมายเหตุ: ท่านสามารถอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่เวบไซต์สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยพะเยา
และติดตามบทความดีๆได้ที่ Facebook: Energy4You