IMAGE iTAP-UP ยกระดับเทคโนโลยีการผลิตให้กับ SME ไทยอย่างรอบด้าน
Thursday, 16 August 2018
โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Innovation and Technology Assistance Program:... Read More...
IMAGE CDIO-Cascading Programme 2017
Friday, 24 November 2017
วันที่ 12 – 16 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา ดร.นพรัตน์ เกตุขาว... Read More...
IMAGE Workshop จัดทำยุทธศาสตร์
Thursday, 12 July 2018
เมื่อวันที่ 27-29 ผศ.ดร.นพรัตน์ เกตุขาว... Read More...
IMAGE การรับรองปริญญา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
Wednesday, 28 November 2018
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดย... Read More...

การบำรุงรักษาเชิงผสมผสาน (Hybrid Maintenance)
ดร.สุธรรม อรุณ

             สมรรถนะของเครื่องจักร คือ ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างยิ่งยวด เนื่องจากเมื่อใดก็ตามที่เครื่องจักรเกิดความบกพร่องจะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อการผลิตในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านความปลอดภัย ด้านคุณภาพของสินค้าและต้นทุนในการผลิต รวมถึงความตรงต่อเวลาในการส่งมอบสินค้าต่อลูกค้าอันจะส่งผลโดยตรงต่อผลกำไรและความน่าเชื่อถือขององค์กรได้ ดังนั้นการหาวิธีการและแนวทางในการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพดีและพร้อมใช้งานอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกบริษัทจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ในการบำรุงรักษาเครื่องจักรนั้นย่อมมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเกิดขึ้นและในบางครั้งก็เป็นเงินจำนวนไม่น้อย ซึ่งถ้าหากเราทำการบริหารจัดการไม่ดีก็อาจจะทำให้ต้นทุนของการผลิตสูงขึ้นหรือทำให้เกิดความไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนได้ จึงทำให้เกิดแนวคิดที่ว่า ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถทำให้เครื่องจักรของเราอยู่ในสภาพที่ดีและพร้อมใช้งานอยู่เสมอโดยใช้เงินลงทุนในด้านการบำรุงรักษาต่ำที่สุด
               สำหรับแนวความคิดในการบำรุงรักษานั้นมีหลายแนวคิด ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนจะขอยก 2 แนวคิดที่เราคุ้นเคยกันดีในปัจจุบันซึ่งได้แก่                

  1. การบำรุงรักษาเมื่อขัดข้อง (Breakdown Maintenance : BM)

เป็นการบำรุงรักษาโดยจะทำการซ่อมแซมเครื่องจักรหลังเกิดความเสียหายหรือเหตุขัดข้อหรือถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือ “การใช้จนเสียแล้วค่อยซ่อม” นั่นเอง การบำรุงรักษาเครื่องจักรในลักษณะนี้ ถือเป็นการบำรุงรักษาเชิงวางแผนอย่างหนึ่ง คือวางแผนที่จะให้เครื่องจักรนั้น Breakdown เสียก่อนแล้วจึงทำการซ่อม ซึ่งข้อดีของการวางแผนซ่อมบำรุงรักษาแบบนี้คือ ใช้งบประมาณในการซ่อมบำรุงค่อนข้างต่ำกว่าวิธีอื่น ๆ แต่มีข้อเสียคือ ทำให้เราสูญเสียโอกาสทางการผลิตไป ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับเครื่องจักรหรือชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ไม่ค่อยมีความสำคัญมากนัก ยกตัวอย่างเช่น ในการเปลี่ยนหลอดไฟ คงไม่มีใครที่จะทำการเปลี่ยนหลอดไฟที่บ้าน เมื่อมีอายุครบ 6 เดือน เพราะถ้าเสียเมื่อใด เราก็สามารถหาซื้อหลอดไฟมาเปลี่ยนได้ โดยใช้เวลาไม่มาก และมีค่าใช้จ่ายที่ น้อยกว่า การที่เราจะเปลี่ยนก่อนที่จะเสีย นั่นคือ เรากำหนดให้หลอดไฟของเรา มีการบำรุงรักษาแบบ Breakdown Maintenance นั่นเอง 

  1. การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance : PM)

เป็นการบำรุงรักษาที่พัฒนามาจากการบำรุงรักษาเมื่อขัดข้อง เนื่องจากผู้ผลิตไม่ต้องการให้เครื่องจักรเกิดการเสียหายในระหว่างทำการผลิต การวางแผนซ่อมบำรุงในลักษณะนี้จะมีการกำหนดการตรวจสอบ ซ่อม และบำรุงรักษาตามระยะเวลาที่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาด การหล่อลื่นเครื่องจักรรวมถึงการเปลี่ยนอะไหล่หรือชิ้นส่วนเมื่อถึงเวลาแม้บางครั้งชิ้นส่วนนั้นอาจยังไม่เสียแต่ต้องเปลี่ยนตามแผนการที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้น การบำรุงรักษาแบบนี้จึงเป็น “การซ่อมก่อนที่จะเสีย” โดยจุดเด่นของการซ่อมบำรุงในลักษณะนี้ คือ

  • ไม่ต้องหยุดเครื่องจักรซ่อมบ่อยส่งผลให้เราสามารถผลิตได้ตามเป้าและได้มาตรฐาน
  • ช่วยลดจำนวนช่างซ่อมบำรุงเนื่องจากมีการซ่อมน้อยลง
  • ช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร

แต่อย่างไรก็ตามข้อเสียของการซ่อมบำรุงแบบนี้คือ มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงที่สูงกว่าวิธี BM เนื่องจากต้องมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนหรืออะไหล่ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น ซึ่งถ้าหากผู้ดำเนินการขาดความรู้ทางด้าน “Machine Reliability” หรือไม่สามารถประเมินระยะเวลาการเปลี่ยนอะไหล่ที่เหมาะสมได้ ก็อาจจะส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงสูงเกินความจำเป็นหรือที่เรียกว่า “Over Maintenance” ได้

เมื่อมาถึงจุดนี้เราอาจจะสังเกตเห็นว่าไม่ว่าจะเป็น BM หรือ PM ต่างมีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกันไป จึงทำให้เกิดแนวคิดที่จะนำเอาจุดเด่นของการซ่อมบำรุงรักษาทั้งสองวิธีนี้มาทำการผสมผสานกัน เพื่อให้เกิดวิธีการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรที่มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงต่ำที่สุดและส่งผลกระทบต่อต้นของการสูญเสียโอกาสทางการผลิต (Production Lost Opportunity) น้อยที่สุดซึ่งผู้เขียนขอเรียกว่า “การซ่อมบำรุงรักษาแบบผสมผสาน” หรือ “Hybrid Maintenance : HM ” 

หลักการวางแผนการซ่อมบำรุงแบบผสมผสาน (Hybrid Maintenance)

       โดยทั่วไปแล้วเมื่อใดก็ตามที่เครื่องจักรมีความเสียหายเกิดขึ้น เราจะสามารถแบ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการการทำให้เครื่องจักรกลับสู่สภาพใช้งานได้ 2 ส่วน คือ

  • ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง คือ ค่าใช้จ่ายที่อยู่ในรูปของการซ่อมบำรุงเครื่องจักรโดยตรง เช่น ค่าแรงและค่าชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างหรืออะไหล่ ที่ใช้ในการซ่อมบำรุง
  • ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการสูญเสียโอกาสทางการผลิต คือ ผลกำไรหรือค่าใช้จ่ายที่เราต้องสูญเสียไปในกรณีที่ต้องหยุดการผลิตเพื่อซ่อมเครื่องจักรนั้น

      โดยหลักการของการซ่อมบำรุงแบบ HM นั้น คือ การวางแผนซ่อมบำรุงเพื่อให้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งสองแบบนี้รวมกันมีค่าต่ำสุด โดยการนำเอาจุดเด่นของวิธี PM และ BM มารวมกันซึ่งมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังต่อไปนี้ 

  1. รวบรวมประวัติข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเสียหายของเครื่องจักรหรือสายการผลิตที่จำเป็น
  2. กำหนดระดับของการซ่อมบำรุงโดยแบ่งตามระยะเวลาที่ยอมให้เกิดการเสียหายหรือการหยุดผลิตได้
  3. คำนวณหาต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการซ่อมบำรุงในแต่ระดับของการซ่อมบำรุง
  4. วางแผนการซ่อมบำรุงโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น 

เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นผู้เขียนขออธิบายขั้นตอนของการวางแผนการซ่อมบำรุงแบบ HM ไปพร้อมกับยกตัวอย่างประกอบ ดังนี้ 

 Case Study

บริษัทหนึ่งต้องการวางแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรโดยใช้หลักการของ HM จึงได้ดำเนินการดังนี้ 

  1. รวบรวมประวัติข้อมูลเกี่ยวกับการเสียหายของเครื่องจักรทั้งหมดที่จำเป็น ดังนี้

Failure Mode คือ รูปแบบการเสียหาย อาจหมายถึง อะไหล่ ชิ้นงาน หรืออาการของการเสียหายในรูปแบบต่าง ๆ
No. of Repair คือ จำนวนครั้งของการเสียหายในแต่ละรูปแบบที่เกิดขึ้นต่อปี
Breakdown Time per Year คือ เวลาที่ต้องหยุดผลิตเพื่อใช้ในการซ่อมแซมให้เครื่องจักรหรือสายการผลิตกลับสู่สภาพเดิมเมื่อมีความเสียหายในแต่ละรูปแบบเกิดขึ้น
Mean Down Time คือ เวลาเฉลี่ยที่เกิดจากการหยุดผลิตเพื่อใช้ในการซ่อมแซมเครื่องจักรใน 1 ครั้ง

                      
Cost of Maintenance per Maintenance Activity คือ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ใช้ในการซ่อมแซมเครื่องจักรให้สามารถกลับคืนสู่สภาพใช้งานได้ เช่น ค่าแรงและค่าอะไหล่ เป็นต้น
Production Lost Opportunity per Hour ($) คือ รายได้ต่อชั่วโมงที่ทางบริษัทต้องสูญเสียไปเมื่อมีการหยุดการผลิตเกิดขึ้น
Operating Hour per Year คือ ชั่วโมงการผลิตทั้งหมดต่อปี 

ตารางที่ 1 ข้อมูลจากฝ่ายซ่อมบำรุง

        จากตารางจะเห็นว่าในรอบปีที่ผ่านมารูปแบบการเสียหายแบบ A มีการเกิดขึ้น 4 ครั้ง คิดเป็นเวลาที่ต้องหยุดผลิตเพื่อใช้ในการซ่อม 8 ชั่วโมงและในการซ่อมแต่ละครั้งต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงอัน เช่น ค่าแรงและค่าอะไหล่ เท่ากับ 200 $

ตารางที่ 2  ข้อมูลจากฝ่ายผลิตและฝ่ายการเงิน

จากข้อมูลที่ได้จากฝ่ายผลิตหรือฝ่ายการเงินพบว่า  ในกรณีที่ต้องหยุดการผลิต 1 ชั่วโมง จะต้องสูญเสียโอกาสทางการผลิตคิดเป็นเงิน 500 $ และใน 1 ปี และบริษัทใช้เวลาในการผลิต 8,760 ชั่วโมง 

        2. กำหนดระดับของการซ่อมบำรุง เพื่อใช้ในการวางแผนซ่อมบำรุงโดยกำหนดตามเวลาที่ยอมให้เครื่องจักรเกิด Breakdown หรือหยุดผลิตได้ ดังตาราง

ตารางที่ 3 การกำหนดระดับของการซ่อมบำรุง

         จากตารางจะเห็นว่า แต่ละระดับของการซ่อมบำรุง จะมีการซ่อมบำรุง 2 แบบ คือ แบบ PM และแบบ BM ยกตัวอย่างเช่น ที่ระดับของการซ่อมบำรุงระดับที่ 1 คือ ระดับของการซ่อมบำรุงที่จะไม่ยอมให้เครื่องจักรมี Break down มากกว่า 9 ชั่วโมง ดังนั้น จึงต้องทำ PM ใน Failure Mode ที่มี Breakdown เกินกว่า 9 ชั่วโมงต่อครั้งขึ้นไป ส่วน Failure Mode ที่เหลือจะทำการซ่อมบำรุงแบบ BM ซึ่งจากตารางที่ 1 จะเห็นว่า Failure Mode ที่มี Breakdown เกินกว่า 9 ชั่วโมงต่อครั้งได้แก่ รูปแบบการเสียหายแบบ B และ D (ผู้อ่านสามารถแบ่งระดับของการซ่อมบำรุงออกเป็นระดับย่อย ๆ มากกว่านี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแต่ละงาน)

         3. คำนวณหาต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการซ่อมบำรุงในแต่ระดับของการซ่อมบำรุง จากขั้นตอนที่ผ่านมาจะเห็นว่าแต่ละระดับของการซ่อมบำรุงจะประกอบไปด้วยการซ่อมบำรุงแบบ PM และ BM ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละระดับของการซ่อมบำรุง จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 

ค่าใช้จ่ายในการทำ BM (Total Breakdown Cost)
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น เราสามารถแบ่งค่าใช้จ่ายในการทำ BM ออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ค่าใช้จ่ายในการสูญเสียโอกาสทางการผลิต เนื่องจากต้องหยุดการผลิตเพื่อทำการซ่อมแซมเครื่องจักรและ ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการซ่อมโดยตรง (ค่าแรง + ค่าอะไหล่) ซึ่งสามารถคำนวณได้ง่าย ๆ ดังนี้ 

ค่าใช้จ่ายในการทำ BM  = ค่าใช้จ่ายในการสูญเสียโอกาสทางการผลิต  + ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการซ่อมโดยตรง

 โดยที่      ค่าใช้จ่ายในการสูญเสียโอกาสทางการผลิต
                                     

               ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการซ่อมโดยตรง
                                     

ยกตัวอย่างเช่นจากตารางที่ 1 ถ้าต้องการคำนวณหาค่าใช้จ่ายของ BM ของ Failure Mode A สามารถทำได้ ดังนี้คือ

             ค่าใช้จ่ายในการทำ BM ของ Failure Mode A = (8 x 500) + (4 x 200) = 4,800 $

จากวิธีการข้างต้น เราสามารถคำนวณหาค่าใช้จ่ายของกรณีการทำ BM ในแต่ละ Failure Mode ได้ดังตาราง 4 และสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายในการทำ BM ในแต่ละระดับการซ่อมบำรุงได้ดังตารางที่ 5 

ตารางที่ 4 แสดงค่าใช้จ่ายในการทำ BM ในแต่ละ Failure Mode

ตารางที่ 5 แสดงค่าใช้จ่ายในการทำ BM ในแต่ละระดับการซ่อมบำรุง

ค่าใช้จ่ายในการทำ PM
         ในการคำนวณหาค่าใช้จ่ายในการทำ PM ของแต่ละระดับควบคุมนั้นจำเป็นที่จะต้องคำนวณหาอายุการเสียหายเฉลี่ย (Mean Time Between Failure : MTBF) ออกมาเสียก่อน จากนั้นจึงทำการประเมินว่าใน 1 ปี ระดับควบคุมนั้นจะต้องทำการซ่อมบำรุงทั้งหมดกี่ครั้งเพื่อทำการประเมินค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 

  • คำนวณหาค่า อายุการเสียหายเฉลี่ย (Mean Time Between Failure : MTBF) จากสมการ

                                                       

โดยที่     T   คือ  เวลาที่ใช้การทำงาน (operating time)

              c คือ   จำนวนการเสียหายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาทำงาน (number of failures during the time T)

             α คือ  ค่าความเชื่อมั่นซึ่งปกติจะมีค่าเท่ากับ 0.60 (ในกรณีที่ถือว่าเครื่องจักรมีอัตราการเสียหายคงที่)

            r มีค่าเท่ากับ , ในกรณีที่เวลา  คือเวลาที่เครื่องจักรเกิดการเสียหายพอดีและมีค่าเท่ากับ  ในกรณีอื่น

          สมการนี้เป็นสมการที่ใช้คำนวณหาอายุการเสียหายเฉลี่ยของเครื่องจักรหรืออะไหล่ในกรณีที่ถือว่าเครื่องจักรนั้นมีอัตราการสึกหรอ (Failure Rate) คงที่ อาจดูยุ่งยากในการคำนวณเนื่องจากมีการแจกแจงแบบไคสแควร์ (Chi – Square Distribution) เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่อย่างไรก็ตามเราสามารถคำนวณได้ไม่ยากนักโดยการเขียนสูตรใน Excel ดังนี้

                                        

        ในความเป็นจริงแล้ว เราสามารถคำนวณหาค่า MTBF ได้หลายวิธี เช่น อาจจะคำนวณโดยการเอาระยะเวลาที่ดำเนินงานทั้งหมดหารด้วยจำนวนครั้งการเสียหายที่เกิดขึ้นในหนึ่งปีก็ได้ แต่การคำนวณแบบนี้เป็นการคำนวณโดยถือว่า อายุการเสียหายของเครื่องจักรมีการแจกแจงแบบปกติ (Normal Distribution) 

  • ประเมินว่าใน 1 ปี เราจะทำการซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนอะไหล่ในเครื่องจักรปีละกี่ครั้ง (Number of Maintenance per year) โดยสามารถคำนวณได้จากสมการ

                             

  • คำนวณหาค่าใช้จ่ายในการทำ PM ซึ่งก็คือ ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงต่อปี 

             Cost of PM = (Number of maintenance required per year) x (Cost of maintenance per maintenance activity)

ตัวอย่าง จากตารางที่ 3 ถ้าต้องการคำนวณหาค่าใช้จ่ายในการทำ PM สำหรับระดับควบคุมที่ 1 ต้องทำ PM สำหรับ 2 รูปแบบการเสียหาย ได้แก่ B และ D ซึ่งเราสามารถคำนวณหาค่า MTBF ของระดับควบคุมที่ 1 ได้ดังนี้คือ

                            

จากผลการคำนวณข้างต้นสามารถประเมินได้ว่าในกรณีที่ต้องทำ PM ที่ระดับควบคุมที่ 1 จะต้องทำการซ่อมบำรุงทั้งหมดเท่ากับ

                             

รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ใช้ในการทำ PM สำหรับระดับควบคุมที่ 1 เท่ากับ

                                Cost of PM = 3 x (150 + 350) = 1,500 $

เมื่อทำการคำนวณค่าใช้จ่ายในการทำ PM ในทุกระดับควบคุม จะได้ผลลัพธ์ดังตารางที่ 5 

ตารางที่ 6 แสดงค่าใช้จ่ายในการทำ PM ในแต่ละ Failure Mode

            4. คำนวณค่าใช้จ่ายรวมในการวางแผนซ่อมบำรุงในแต่ละรูปแบบการเสียหาย

                         Total Cost = (Total BM Cost) + (Total of PM Cost) 

ตารางที่ 7 แสดงค่าใช้จ่ายทั้งหมดในแต่ละระดับการซ่อมบำรุง

          5. เขียนกราฟแสดงภาพรวมของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในแต่ละระดับควบคุมและวิเคราะห์ผลการคำนวณ

                       รูปที่ 1 กราฟแสดงค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในแต่ละระดับควบคุม

           จากการวิเคราะห์จะเห็นว่าต้นทุนการซ่อมบำรุงที่ต่ำที่สุดอยู่ระหว่าง Class II และ Class III ซึ่งถ้าหากเราจะมองในเชิงป้องกันเราอาจจะเลือกระดับควบคุมที่ 3 (คือ เน้นการทำ PM) ในการวางแผนซ่อมบำรุง โดยในการวางแผนซ่อมบำรุงในกรณีนี้ จะทำ PM ที่รูปแบบการเสียหายแบบ A, B, D, E, F โดยทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ทุก ๆ 525 ชั่วโมงและจะปล่อยให้เกิด Breakdown ที่รูปแบบการเสียหายแบบ C

 กิตติกรรมประกาศ
            ผู้เขียนขอขอบพระคุณ คุณวชิรพงษ์ สาลีสิงห์ และ รศ.ดร.ธงชัย  ฟองสมุทร ที่คอยให้คำปรึกษารวมทั้งแนะนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเขียนบทความครั้งนี้

เอกสารอ้างอิง
www.tpmthai.com

หมายเหตุ: ท่านสามารถอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่เวบไซต์สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยพะเยา
และติดตามบทความดีๆได้ที่ Facebook: Energy4You