IMAGE iTAP-UP ยกระดับเทคโนโลยีการผลิตให้กับ SME ไทยอย่างรอบด้าน
Thursday, 16 August 2018
โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Innovation and Technology Assistance Program:... Read More...
IMAGE CDIO-Cascading Programme 2017
Friday, 24 November 2017
วันที่ 12 – 16 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา ดร.นพรัตน์ เกตุขาว... Read More...
IMAGE Workshop จัดทำยุทธศาสตร์
Thursday, 12 July 2018
เมื่อวันที่ 27-29 ผศ.ดร.นพรัตน์ เกตุขาว... Read More...
IMAGE การรับรองปริญญา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
Wednesday, 28 November 2018
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดย... Read More...

การเขียน Pump performance curve แบบต่อขนานและอนุกรม
นรินทร์ คันชิง, วีรวัฒน์ วงค์ชัย, ธรรมรัตน์ อุดทา และนพรัตน์ เกตุขาว

 Image result for youtube logo ท่านสามารถดูวีดิโอประกอบการสอนไปพร้อมกันที่นี่

         

           ปั๊มแต่ละตัวจะมีพฤติกรรมการทำงานไม่เหมือนกัน เส้นพฤติกรรมนี้เรียกว่า Pump performance curve หรือ H-Q curve ดังแสดงเป็นตัวอย่างในรูปที่ 1 ถ้าเราเอาปั๊มมาต่อกันทั้งแบบขนานและแบบอนุกรมเราจะต้องเขียน Pump performance curve ของชุดปั๊มที่ต่อกัน เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์การทำงานของปั๊มทั้งชุดพร้อมกัน วันนี้เราจะมาฝึกเขียน Pump performance curve สำหรับปั๊มที่ต่อกันทั้งแบบขนานและแบบอนุกรม

หลักการต่อปั๊ม
       ถ้าเรานำ Pump curve ของปั๊มที่จะต่อกันมาวาดลงบนกราฟ Q-H  curve แล้วพบว่า เส้น Pump curve มันเหลื่อมกัน ก็มีโอกาสที่ปั๊มทั้งสองตัวจะต่อกันได้ ไม่ว่าจะต่อแบบขนานหรืออนุกรม แต่จะทำงานได้หรือไม่ได้ขึ้นกับ System curve อีกที (ศึกษาเพิ่มเติมในหัวข้อต่อๆไป) โดยปั๊มที่ต่อกันแบบขนานนั้น เมื่อปั๊มทั้งหมดทำงาน ปั๊มแต่ละตัวจะมี Head เท่ากัน ส่วนอัตราการไหลจะเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ โดยอัตราการไหลรวมจะเท่ากับอัตราการไหลของปั๊มแต่ละตัวรวมกัน ส่วนการต่อแบบอนุกรมนั้น เมื่อปั๊มทั้งหมดทำงาน ปั๊มแต่ละตัวจะมีอัตราการไหลเท่ากัน โดย Head รวมของระบบจะเพิ่มขึ้นเท่ากับ Head ของปั๊มแต่ละตัวรวมกัน  รูปที่ 1 เป็นตัวอย่างของปั๊มรุ่น 125x100 FS2JCA โดยแกนนอนเป็นอัตราการไหลของปั๊ม ส่วนแกนตั้งเป็นความดันที่ปั๊มสร้างได้ (Total Head) โดยในกราฟจะมีเส้น Performance curve ของใบพัดแต่ละใบ ซึ่งจากรูปจะเห็นว่ามีใบพัด 4 ขนาดด้วยกัน นอกจากนี้ในกราฟยังแสดงค่าประสิทธิ์ภาพของปั๊มมาให้ด้วย

 หลักการวาด Performance Curve ของชุดปั๊มที่นำมาต่อกัน
   1) การต่อแบบขนาน
         การต่อแบบขนานจะต้องนำค่าอัตราการไหลที่ Head เท่ากันมาบวกกัน ตัวอย่างนี้เป็นการต่อกันของปั๊ม 2 ตัวที่มีขนาดใบพัดไม่เท่ากัน เริ่มต้นเราจะต้องอ่านค่าอัตราการไหลของปั๊มทั้ง 2 ตัวที่ Head เท่ากันแล้วจึงนำมารวมกันดังแสดงในตารางที่ 1

   ตารางที่ 1 การหาจุด Performance curve ของการต่อปั๊มแบบขนาน

   เมื่อเราได้ค่าอัตราการไหลรวมของปั๊มทั้ง 2 ตัวแล้วจึงนำมาเขียนเป็นเส้น curve ได้ดังแสดงในรูปที่ 2

    

    2) การต่อปั๊มแบบอนุกรม

โดยตัวอย่างนี้เป็นการต่อกันของปั๊ม 2 ตัวที่มีขนาดใบพัดไม่เท่ากัน เริ่มต้นเราจะต้องอ่านค่า Head ของปั๊มทั้ง 2 ตัวที่อัตราการไหลเท่ากันแล้วจึงนำมาบวกกันดังแสดงในตารางที่ 2

     ตารางที่ 2 การหาจุด Performance curve ของการต่อปั๊มแบบอนุกรม

เมื่อเราได้ค่า Head รวมแล้ว จึงนำมาเขียนเป็นเส้น Curve ได้ดังแสดงในรูปที่ 3

หมายเหตุ: ท่านสามารถอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่เวบไซต์สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยพะเยา
และติดตามบทความดีๆได้ที่ Facebook: Energy4You