IMAGE iTAP-UP ยกระดับเทคโนโลยีการผลิตให้กับ SME ไทยอย่างรอบด้าน
Thursday, 16 August 2018
โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Innovation and Technology Assistance Program:... Read More...
IMAGE CDIO-Cascading Programme 2017
Friday, 24 November 2017
วันที่ 12 – 16 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา ดร.นพรัตน์ เกตุขาว... Read More...
IMAGE Workshop จัดทำยุทธศาสตร์
Thursday, 12 July 2018
เมื่อวันที่ 27-29 ผศ.ดร.นพรัตน์ เกตุขาว... Read More...
IMAGE การรับรองปริญญา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
Wednesday, 28 November 2018
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดย... Read More...

การเขียน System curve และการรวม System curve ของระบบท่อ
ธงชัย ปัญโญศักดิ์ ,จตุรภัค ผ้าเจริญ และนพรัตน์ เกตุขาว

Image result for youtube logo ท่านสามารถดูวีดิโอประกอบการสอนไปพร้อมกัน


บทนำ
          เส้นพฤติกรรมการไหลของน้ำในระบบท่อ เราเรียกว่า H – Q curve หรือ System curve ซึ่งเป็นเส้นที่บอกความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการไหลและแรงดันสูญเสียของน้ำ เส้น System curve นี้มีประโยชน์มากในการนำไปเลือก Pump และใช้ในการทำนายการไหลของน้ำในระบบท่อที่ต่อกับ Pump ได้ ซึ่งจะมีประโยชน์กับวิศวกรเป็นอย่างมาก วันนี้เราจะมาฝึกเขียน System curve ของระบบท่อในแบบต่างๆ ทั้งท่อที่ต่อแบบขนานและแบบอนุกรมกันครับ

ความรู้เบื้องต้น
          การที่น้ำไหลจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง น้ำย่อมจะเกิดการสูญเสียแรงดันในท่อขึ้น ซึ่งเราสามารถเขียนสมการการสูญเสียที่สัมพันธ์กับอัตราการไหลได้ดังนี้

                       H = Hmajor + Hminor + HST                                            (1)

โดย      H        คือ ค่า Total Head หรือการสูญเสียความดันรวมเนื่องจากการไหล
           Hmajor คือ แรงดันสูญเสียหลักที่เกิดขึ้นในท่อตรงเนื่องจากแรงเสียดทาน
           Hminor คือ แรงดันสูญเสียรองที่เกิดขึ้นในอุปกรณ์ข้อต่อ,ข้องอ,วาล์วและอุปกรณ์อื่นๆ
           HST     คือ แรงดันสถิตย์ (Static head)

             โดยที่ ค่าแรงดันสูญเสียหลัก (Hmajor) และแรงดันสูญเสียรอง (Hminor) จะแปรผันกับอัตราการไหลยกกำลังสอง ดังนั้นเราจึงสามารถเขียนสมการความสัมพันธ์ของ Total Head จากสมการที่ 1 ใหม่ได้ดังนี้

                       H = aQ­­2 + HST                                                             (2)

          โดย      a  คือ ค่าคงที่ใดๆ
                     Q  คือ อัตราการไหล

             เมื่อนำสมการ Total Head มาเขียนเป็นกราฟก็จะได้กราฟความสัมพันธ์ของ Total Head กับการไหลได้ดังรูปที่ 1 ซึ่งกราฟนี้มีชื่อเรียกว่า System curve หรือ H–Q curve

       
การรวม system curve ของท่อคนละขนาด
              ในหัวข้อนี้เป็นการวาด System curve ของท่อที่มีขนาดไม่เท่ากันและต่อกันแบบอนุกรม จากรูปที่ 2 เป็นระบบท่อที่เริ่มต้นด้วยท่อขนาด 5 นิ้ว แล้วลดเหลือ 4 นิ้ว ในการวาด System curve ของระบบท่อดังกล่าว เราจะต้องวาด System curve ของแต่ละท่อแล้วนำมารวมกันแบบอนุกรม โดยอาศัยหลักการคือการรวมกันของค่า Head ที่อัตราการไหลเท่ากัน

ขั้นตอนการวาด System curve
         1) ให้สมมุติอัตราการไหลในเส้นท่อเพื่อหา Hmajor และ Hminor ซึ่งในที่นี้จะสมมุติอัตราการไหลเท่ากับ 500 GPM ดังแสดงในตารางที่ 1

        ตารางที่ 1 การหา System curve ของท่อคนละขนาด

       2) วาด System curve ของแต่ละท่อ โดยให้ HST เท่ากับศูนย์
       3) นำ System curve ของทั้งสองเส้นมารวมกับ Static จะได้ System curve ดังแสดงในรูปที่ 3

การรวม System curve ของท่อที่จ่ายน้ำ 2 แหล่ง
             ระบบท่อมีการดูดน้ำจากจุด A ไปยัง จุด C และจุด D ดังแสดงในรูปที่ 4 ซึ่งท่อที่ 1 เป็นท่อขนาด 6 นิ้ว ท่อที่ 2 เป็นท่อขนาด 4 นิ้ว และท่อที่ 3 เป็นท่อขนาด 5 นิ้ว วิธีการวาด System curve ของท่อดังกล่าว เราจะต้องวาด System curve ของท่อ 2 และ 3 ก่อนแล้วจึงนำมารวมกันแบบขนาน จากนั้นก็นำมารวมกันแบบอนุกรมกับท่อที่ 1อีกครั้ง โดยการรวมกันของท่อแบบขนานนั้นจะอาศัยการรวมกันของอัตราการไหลที่ Head เท่ากัน

ขั้นตอนการวาด System curve
       1) สมมุติอัตราการไหลในเส้นท่อตามความเหมาะสมเพื่อหา Total Head  จากนั้นแก้สมการที่ 2 เพื่อหาค่า a และหาสมการ System curve ดังตารางที่ 2 ต่อไปนี้

      ตารางที่ 2 การหา System curve ของท่อจ่ายน้ำ 2 แหล่ง
 
       2) วาด system curve ของแต่ละท่อ
      3) รวม system curve ของแต่ละท่อโดยรวมของท่อที่ 2 และ 3 แบบขนานก่อน แล้วจึงนำมารวมกับท่อที่ 1 แบบอนุกรม ซึ่งจะได้ System curve ของระบบท่อทั้งหมด ดังรูปที่ 5

การรวม System curve ของท่อที่ดูดน้ำ 2 แหล่ง
          ระบบท่อที่ดูดน้ำจากจุด C และ D ไปยัง จุด A  ดังแสดงในรูปที่ 6 ซึ่งท่อที่ 1 เป็นท่อขนาด 6 นิ้ว ท่อที่ 2 เป็นท่อขนาด 4 นิ้ว และท่อที่ 3 เป็นท่อขนาด 5 นิ้ว วิธีการวาด System curve ของท่อดังกล่าว เราจะต้องวาด System curve ของท่อ 2 และ 3 ก่อนแล้วจึงนำมารวมกันแบบขนาน จากนั้นก็นำมารวมกันแบบอนุกรมกับท่อที่ 1 อีกครั้ง

      

ขั้นตอนการวาด System curve
      1) สมมุติอัตราการไหลในเส้นท่อตามความเหมาะสมเพื่อหา Total Head จากนั้นแก้สมการที่ 2 เพื่อหาค่า a และหาสมการ System curve ดังตารางที่ 3 ต่อไปนี้

   ตารางที่ 3 การหา System curve ของท่อดูดน้ำ 2 แหล่ง

        2) วาด system curve ของแต่ละท่อ
       3) รวม system curve ของแต่ละท่อโดยรวมของท่อที่ 2 และ 3 แบบขนานก่อน แล้วจึงนำมารวมกับท่อที่ 1 แบบอนุกรม ซึ่งจะได้ System curve ของระบบท่อทั้งหมด ดังรูปที่ 7

 

หมายเหตุ: ท่านสามารถอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่เวบไซต์สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยพะเยา
และติดตามบทความดีๆได้ที่ Facebook: Energy4You